เตรียมเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญา อัปเดต 4 ปรากฏการณ์ ส่งผลต่อสภาพอากาศในไทย

Author:

วันที่ 1 ส.ค. 2567 ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา เผยแพร่การติดตามและการคาดหมายปรากฏการณ์ ที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศ เดือนส.ค. ถึง ต.ค.2567 พบว่าปรากฏการณ์ El Nino Southern Oscillation (ENSO) ขณะนี้ปรากฏการณ์เอนโซอยู่ในสภาวะปกติแล้ว โดยจากแบบจำลองการพยากรณ์ ENSO ของศูนย์ต่างๆ ทั่วโลก การพยากรณ์ความน่าจะเป็นของสถานการณ์ ENSO และการพยากรณ์อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรในเดือนที่ผ่านมาเย็นลงเกือบทั่วทั้งบริเวณ

ประกอบกับเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติและแบบจำลองเชิงพลวัตแล้ว คาดว่า ปรากฏการณ์เอนโซที่อยู่ในสภาวะปกติมีความน่าจะเป็นร้อยละ 70 ที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือน ส.ค.ถึง ต.ค. 2567 และจะต่อเนื่องไปจนถึงช่วงพ.ย. ถึง ม.ค. 2568

ส่วนปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD) หรือดัชนีวัดค่าความผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเล อันเนื่องมาจากการอุ่นขึ้นขึ้นหรือเย็นตัวอย่างผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนใต้ด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียบริเวณเขตศูนย์สูตร (EAST) กับอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณด้านตะวันตกของมหาสมุทรอินเดียเขตศูนย์สูตร (WEST)นั้น พบว่า ช่วงเดือนที่ผ่านมาปรากฏการณ์ IOD ยังคงมีสถานะปกติ โดยมีค่าดัชนีอยู่ที่ -0.33 “C จากแบบจำลองคาดการณ์ว่า IOD มีแนวโน้มที่จะมีสถานะปกติในช่วงเดือน ส.ค.2567 และมีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นสถานะลบ (negative) ในเดือน ก.ย.เป็นต้นไป ซึ่ง IOD จะไม่ส่งผลต่อปริมาณฝนรวมบริเวณประเทศไทยในช่วงดังกล่าว

ขณะที่ปรากฏการณ์ Madden Julian Oscillation (MUO) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์เกิดควบคู่กันระหว่างการไหลเวียนของบรรยากาศกับการยกตัวขนาดใหญ่ของอากาศในเขตร้อนนั้น ผลการพยากรณ์ดัชนี MUO จากแบบจำลอง พบว่าในช่วงปลายเดือน ก.ค.ต่อเนื่อเนื่องไปถึงต้นเดือน ส.ค. ปรากฏการณ์ MUO ยังคงมีกำลังอ่อน และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกผ่านบริเวณ Martime Continent ไปยังบริเวณ Western Pacific ซึ่งคาดการณ์ว่าปรากฏการณ์ MUO จะไม่มีอิทธิพลต่อปริมาณฝนในช่วงปลาย ก.ค.จนถึงต้น ส.ค. หลังจากนั้นยังคงต้องเฝ้าติดตามปรากฏการณ์ MUO อย่างใกล้ชิดต่อไป

ในขณะที่ ลมมรสุม (Monsoon) จากดัชนีลมมรสุม WYMI WNPI และ ISMI ช่วงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา พบว่าค่าเฉลี่ยดัชนีมรสุมแสดงให้เห็นลมตะวันตกเฉืยงได้มีค่ามากกว่าค่าปกติ และผลการคาดหมายลมที่ระดับ 850hPa (1,500 เมตร) ช่วง 4 สัปดาห์ข้างหน้า มีลมตะวันออกที่มีกำลังแรงกว่าว่าค่าปกติพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตตอนบบน ส่วนทางภาคได้มีสมตะวันตกที่มีกำลังแรงกว่าค่าปกติเล็กน้อยพาดผ่าน โดยสัปดาห์ที่ 2 มีลมตะวันออกที่มีกำลังแรงกว่าค่าปกติพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน

ส่วนทางภาคใต้มีลมตะวันตกที่มีกำลังแรงกว่าค่าค่าปกติพาดผ่าน ส่วนสัปดาห์ที่ 3 และ สัปดาห์ที่ 4 มีลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พาดผ่านบริเวณประเทศไทยตลอตลอดทั้งประเทศ ลักษณะดังกล่าวส่งผลให้เดือน ก.ค. ประเทศไทย มีปริมาณฝนสูงกว่าค่าปกติ (เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของช่วงเดียวกัน ในช่วงปี 2534-2563)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *